แนวทางการพัฒนานักเรียน
FUN FIND FOCUS FORWARD AND FOUND
“หลักสูตรแนวคิด FUN FIND FOCUS FORWARD AND FOUND ” เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นรายบุคคล ซึ่งผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ สนใจและมีความถนัดเพื่อประสบความสำเร็จดังฝันที่ตั้งใจไว้
FUN
ค้นหาความชอบ ความถนัดและความสนใจ ผ่านกิจกรรมที่มีความสุขและสนุกสนาน
FIND
ค้นหาความชอบ ความถนัดและความสนใจ ผ่านกิจกรรม ผ่านวิชาบังคับเลือก และวิชาเลือกเสรี
FOCUS
ค้นหาและเจาะลึกความชอบ ความถนัดและความสนใจ ผ่านวิชาบังคับเลือก และวิชาเลือกเสรี
FORWARD เจาะลึกความถนัดตามศักยภาพผ่านวิชาบังคับเลือก/วิชาเลือกเสรีและเลือกเรียนใน
โปรแกรมที่ตนเองชอบถนัดและสนใจ
FOUND
ความฝันที่อยากจะเป็นและเป็นได้ดั่งฝัน
หลักสูตรตามแนวคิดของโรงเรียนสาธิตบางนา
THE WHOLE CHILD DEVELOPMENT
แนวทางการพัฒนานักเรียนของโรงเรียนสาธิตบางนา โรงเรียนต้นแบบผู้นำแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความเชื่อในการพัฒนาเด็ก แบบ Whole Child Development ใน 3 มิติ ได้แก่
1.มิติวิชาการ (Academic) เด็กๆจะเรียนรู้วิชาการอย่างมีความสุขและความหมายเพียงพอสำหรับการใช้ในระดับที่สูงขึ้น
ตามเป้าหมายของแต่ละคน
2.มิติด้านทักษะ (Skill) เด็กๆจะได้เรียนรู้และปฏิบัติทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (ว่ายน้ำเป็นเล่นดนตรีได้ ทำอาหารรับประทานเองได้)มีทักษะการทำงาน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาทักษะการคิด และทักษะอาชีพ
3.มิติด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) เด็กๆสามารถเป็นผู้นำในตนเองโดยจัดการชีวิตของตนเองได้อย่างมีคุณภาพและสามารถ
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
THE SEVEN HABITS OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE
“7 Habits for Highly Effective People” หรือ "7 อุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง" เขียนโดย สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์ หลักของ 7 อุปนิสัยมีขั้นดังต่อไปนี้
อุปนิสัยที่ 1 Be Proactive เริ่มต้นที่ตัวเรา
เด็กๆรู้จักควบคุม รับผิดชอบชีวิตตัวเอง และมีอิสระในการคิดการทำเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
อุปนิสัยที่ 2 Begin with the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
ตั้งเป้าหมายระยะใกล้และระยะไกลของชีวิต เริ่มจากเป้าหมาย รายอาทิตย์ เดือน ปี และสุดท้ายคือ เป้าหมายชีวิต
อุปนิสัยที่ 3 Put First Things First ทำสิ่งที่สำคัญก่อน
จัดการบริหารเวลาของตนเองว่าควรทำอย่างไรก่อน เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการเรียน การเล่น หรือ ทำกิจกรรมที่ชอบ เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการ บรรลุเป้าหมาย
อุปนิสัยที่ 4 Think Win-Win คิดแบบชนะ-ชนะ
ไม่มีใครต้องแพ้หรือเสีย เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความ Proactiveที่มีค่าของผู้อื่น (I'm Ok, You're Ok.)
อุปนิสัยที่ 5 Seek First to Understand ,Then to be Understoodเข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจตัวเรา
การอยากให้ผู้อื่นยอมรับเราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้งก่อน เพื่อลดการปะทะกัน
อุปนิสัยที่ 6 Synergize ผนึกพลังประสานความต่าง ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่
ยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่น ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ ปิดกั้นความคิดดีๆ และไม่ควรละเลยเสียงข้างน้อยดังนั้นต้องหาทางเลือกที่สาม
อุปนิสัยที่ 7 Sharpen the Saw เลื่อยให้คมอยู่เสมอ
มั่นฝึกฝนอุปนิสัยต่างๆเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ"หมั่นลับคมเลื่อยไว้ ยามเมื่อถึงเวลา..จะได้พร้อมใช้" นั่นเอง ตามแนวคิด
Practice Makes Perfect
Lighthouse School
โรงเรียนต้นแบบผู้นำ
โรงเรียนสาธิตบางนาได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียน Lighthouse School ทั้งโรงเรียน(อนุบาล - ประถมศึกษา – มัธยมศึกษา) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โรงเรียนท้องถิ่นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโรงเรียนลำดับที่ 172 ของโลก
Lighthouse School เป็นโรงเรียนต้นแบบผู้นำ ที่มีต้นกำเนิดมาจากหนังสือ 7 Habits of Highly Effective People ของ Dr.Stephen R. Covey หนังสือดังกล่าวมาจากผลการวิจัยที่ได้ศึกษาอุปนิสัยของผู้ประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัว และการทำงานทั่วโลกได้มีการนำ 7 อุปนิสัย นี้ไปทำเป็นหลักสูตรอบรมให้กับผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งหลักสูตรการอบรมดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ ดีจากองค์กรธุรกิจชั้นนำทั่วโลกตลอดมาหลังจากนั้น จึงมีคำถามต่อกันว่า “ทำไมเราจะต้องรอให้เป็นผู้บริหารระดับสูงก่อน จึงจะสามารถเรียนรู้วิถีของการเป็นผู้มีประสิทธิผล”“ถ้าเด็กของเราได้เริ่มรู้จัก 7 Habitsตั้งแต่ในระดับโรงเรียนจะมีความ น่าจะเป็นผู้มีประสิทธิผลในอนาคตหรือไม่” จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่ชื่อว่า “The Leader In Me” ซึ่งเป็นการบูรณาการการนำ 7 Habits
ไปใช้ในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
Multiple Intelligences
ทฤษฎีพหุปัญญา
โรงเรียนสาธิตบางนาใช้ “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) ตามแนวคิดของศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา ในการพัฒนานักเรียน โดยทฤษฏีนี้อธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลายของสติปัญญาของมนุษย์ มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
ปัญญาด้านภาษา(Linguistic Intelligence)
สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการสามารถใช้ภาษารูปแบบต่างๆ
ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์(Logical-Mathematical Intelligence)
สามารถคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Visual-Spatial Intelligence)
สามารถรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
สามารถควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
ปัญญาด้านดนตรี(Musical Intelligence)
สามารถซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์(Interpersonal Intelligence)
สามารถเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี
ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง(Intrapersonal Intelligence)
สามารถรู้จักตระหนักรู้ในตนเอง รเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา(Naturalist Intelligence)
สามารถรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
หลักสูตรการเรียนการสอน
-
STUDENT FOCUSED approach, with Cooperative Learning and Inquiry based instruction. This is where the students learn by doing, work together and always asking questions.